ตามพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ต่างประเทศ พ.ศ. 2551 กำหนดว่า ผู้สร้างภาพยนตร์ต่างประเทศที่ประสงค์จะถ่ายทำภาพยนตร์ในประเทศไทยจะต้องยื่นคำขออนุญาตถ่ายทำภาพยนตร์ซึ่งออกโดยกองกิจการภาพยนตร์และวีดิทัศน์ต่างประเทศ ทั้งนี้ ผู้สร้างภาพยนตร์ต่างประเทศต้องว่าจ้างผู้ประสานงานการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย (ประเภทนิติบุคลหรือประเภทบุคคลธรรมดา) ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนกับกองกิจการภาพยนตร์และวีดิทัศน์ต่างประเทศ เพื่อเป็นผู้แทนผู้สร้างภาพยนตร์ต่างประเทศในการยื่นคำขออนุญาตถ่ายทำภาพยนตร์ การดำเนินการเรื่องต่าง ๆ ตลอดระยะเวลาของการถ่ายทำภาพยนตร์ ตลอดจนรวบรวมเอกสารและติดต่อประสานงานกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อยื่นคำขออนุญาตในส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมายื่นประกอบคำขออนุญาตถ่ายทำภาพยนตร์กับกองกิจการภาพยนตร์และวีดิทัศน์ต่างประเทศ
สามารถค้นหารายชื่อผู้ประสานงานฯ ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนกับกองกิจการภาพยนตร์และวีดิทัศน์ต่างประเทศได้ที่ เมนู ‘ผู้ประสานงานฯ’ ซึ่งบางรายสามารถรองรับคณะถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศที่ใช้ภาษาเฉพาะ อาทิ ภาษาจีน ภาษาฮินดี ภาษาเยอรมัน ภาษาฝรั่งเศส ภาษาญี่ปุ่น ภาษาเกาหลี และอื่น ๆ ทั้งนี้ ตามกฎหมายแล้ว ผู้ประสานงานฯ ประเภทบุคคล จะไม่สามารถรองรับการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศขนาดใหญ่ได้ ตัวอย่างเช่น ภาพยนตร์เรื่องยาว ซีรีส์ ละครโทรทัศน์ เป็นต้น
ภาพยนตร์ต่างประเทศทุกประเภทที่ประสงค์จะถ่ายทำในประเทศไทยต้องได้รับอนุญาตถ่ายทำจากกองกิจการภาพยนตร์และวีดิทัศน์ต่างประเทศ อันได้แก่ ภาพยนตร์โฆษณาและประชาสัมพันธ์ สารคดี มิวสิควีดิโอ รายการโทรทัศน์ รายการโทรทัศน์ที่มีเนื้อหาละเอียดอ่อน เรียลลิตี้ เกมโชว์ ละครโทรทัศน์ ซีรีส์ ภาพยนตร์สั้น และภาพยนตร์เรื่องยาว
ยกเว้น การถ่ายภาพนิ่ง และภาพยนตร์ที่ใช้เฉพาะบริการหลังการถ่ายทำ (Post – Production)
เอกสารที่ต้องใช้
กระบวนการพิจารณาอนุญาตจะแล้วเสร็จภายใน 3 วันทำการ สำหรับภาพยนตร์โฆษณาและประชาสัมพันธ์ สารคดี มิวสิควีดิโอ และรายการโทรทัศน์ ส่วนรายการโทรทัศน์ที่มีเนื้อหาละเอียดอ่อน เรียลลิตี้ เกมโชว์ ละครโทรทัศน์ ซีรีส์ ภาพยนตร์สั้น และภาพยนตร์เรื่องยาว จะใช้ระยะเวลาในการพิจารณาอนุญาต ภายใน 10 วันทำการ
อันดับแรก ผู้สร้างภาพยนตร์ต่างประเทศต้องได้รับหนังสืออนุญาตถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทยจากกองกิจการภาพยนตร์และวีดิทัศน์ต่างประเทศก่อน หลังจากนั้น ผู้ประสานงานฯที่ได้รับมอบหมายจะดำเนินการติดต่อประสานกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อยื่นคำขออนุญาตถ่ายทำต่อหน่วยงานเจ้าของพื้นที่ต่อไป
การถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทยต้องไม่ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ที่ดีและความมั่นคงของประเทศไทย ความสงบเรียบร้อยของประชาชน และเกียรติภูมิของชาติไทย นอกจากนี้ การถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทยจะต้องไม่ก่อให้เกิดผลกระทบหรือความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม
ไม่มีค่าธรรมเนียม
ใช่ อาจมีค่าธรรมเนียมสำหรับการถ่ายทำในสถานที่บางแห่ง เช่น อุทยานแห่งชาติ อุทยานประวัติศาสตร์ หรือสถานีรถไฟ ซึ่งสามารถปรึกษาหารือเรื่องนี้กับผู้ประสานงานฯ
เจ้าหน้าที่กำกับดูแลการถ่ายทำ คือผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐที่ได้รับมอบหมายจากกรมการท่องเที่ยวในการกำกับดูแลการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทยให้เป็นไปตามบทที่ได้รับอนุญาต รวมถึงให้คำแนะนำสำหรับกรณีที่มีการถ่ายทำนอกเหนือจากบทและเนื้อหาที่ได้รับอนุญาตว่ามีความเหมาะสมหรือไม่
คณะถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศที่จะเดินทางเข้ามาทำงานในประเทศไทยต้องได้รับ วีซ่า Non – Immigrant ประเภท “M” (Media Visa) ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ consular.mfa.go.th
ทั้งนี้ คณะถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศสามารถยื่นขอรับหนังสืออนุญาตถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทยจากกองกิจการภาพยนตร์และวีดิทัศน์ต่างประเทศเพื่อใช้ประกอบการยื่นขอวีซ่าได้
ใบอนุญาตทำงานถือเป็นเรื่องจำเป็น ยกเว้นสำหรับกรณีคณะถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศที่ทำงานในประเทศไทย ไม่เกิน 15 วัน อย่างไรก็ตาม ต้องแจ้งระยะเวลาการทำงานให้กรมการจัดหางานทราบ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.doe.go.th
ใช่ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.doe.go.th
ภาพยนตร์ต่างประเทศที่มีเงินลงทุนถ่ายทำ 50 ล้านบาท (ประมาณ 1.43 ล้านเหรียญสหรัฐ) ขึ้นไป สามารถขอรับสิทธิประโยชน์ตามมาตรการ Incentive
สูงสุด 20% ของเงินลงทุนถ่ายทำภาพยนตร์ในประเทศไทย